วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยไม้สกุลช้าง

กล้วยไม้สกุลช้าง
   ในบรรดากล้วยไม้ป่าที่พบอยู่ในธรรมชาตินั้น พวกที่มี่ความสำคัญทางพืชกรรมคือมีดอกสวยงามเป็นที่จูงใจแก่คนทั่วไป ให้นิยมชมชอบเมื่อได้ชมความงาม มีอยู่ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ประเภทช่องาม   ในบรรดากล้วยไม้ประเภทช่องามเหล่านี้ กล้วยไม้สกุลรินคอสไตลิส  ( Rhynchostylis ) นับว่าเป็นชนิดหนึ่งซึ่งมีความเป็นเลิศ แม้ว่ากล้วยไม้สกุลนี้มีอยู่ไม่กี่ชนิด ( species ) เช่น ช้าง,พวงมาลัย,เขาแกะ,ไอยเรศ  แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงช้าง

     ช้าง  เป็นกล้วยไม้ชนิดที่มีรูปทรงของต้น ใบ ราก และดอกล่ำสันใหญ่โตกว่าชนิดอื่นๆ ภายในสกุลเดียวกัน และอาจจะเป็นลักษณะนี้เองที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อ ภาษาไทย ช้าง  ลักษณะดอก ช่อดอกรูปทรงกระบอกโค้งพองาม ช่อดอกยาวประมาณ 20 ถึง 30 ซม มีกลิ่นหอม ดอกบานในระหว่างเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ของปี
ประเภทของช้างพันธ์แท้ เช่น ช้างแดง ช้างกระ ช้างพลาย ช้างเผือก  ช้างค่อม ช้างลูกผสมได้แก่ ช้างศรีสยามช้างแดง ช้างเหลือง ช้างชมพู ช้างบางกอก เป็น ต้น  ส่วน รายระเอียด และรูปจะคอยๆเพิ่มเติมลายละเอียดต่อไป

ช้างเผือก 

ช้างแดง

ช้างพลาย

ช้างกระ

ช้างค่อม (Rhyn. gigantea var. illustre)

            เป็นกล้วยไม้พันธุ์หนึ่งซึ่งแม้ว่าจะมีลักษณะทั่วไป ๆ ไปของดอกเป็นแบบธรรมดา ซึ่งเรียกกันว่า ช้างกระ   แต่พันธุ์นี้มีลักษณะใบกว้างและหนา ตลอดจนทรงต้นล่ำสันใหญ่โตกว่าปกติ สีของใบมักจะเขียวคล้ำกว่าพันธุ์ธรรมดา และมักจะทำให้สังเกตเห็นทางสีเขียวบนผิวด้านบนของใบได้ยาก นอกจากนั้นช่อดอกและขนาดของดอกก็มักจะค่อนข้างใหญ่และแน่นกว่าพันธุ์ธรรมดาเล็กน้อยด้วย  พบในป่าทางภาคเหนือของประเทศ (รูปภาพจากเว็บ )
ช้างส้ม
ศรีสยาม x ช้างแดง
เป็นไม้ลูกผสมระหว่างศรีสยามเข้ากับช้างแดง เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม ออกดอก 1 ถึง 3 ครั้งต่อปี
ช้างชมพู
ช้างบางกอก
เป็นลูกผสมกล้วยไม้สกุลกุหลาบผสมช้าง
ช้างเหลืองปากแดง
เป็นกล้วยไม้ที่ผสมระห่าง ช้างเผือก x แอสโครบางขุนเทียนโกลด์  มีกลิ่นหอม  ออกดอกช่วงเดือน
มกราคาถึงมีนาคม
                                                                                
 ช้างผสมกับฟ้ามุ่ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น